วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556


สวัสดีค่ะ พึ่งผ่านวันแม่มาไม่กี่วัน หลายๆคนได้กลับบ้านไปหาแม่กันบ้างหรือเปล่าเอ่ย อย่ามัวแต่ทำงานจนลืมไปว่ามีคนรอเราอยู่ที่บ้านนะคะ หลายๆคนที่ทำงานราชการก็ได้หยุดกลับไปหาแม่ แต่อีกหลายๆคนก็อาจจะต้องอยู่ที่บริษัท เพราะบริษัทเขาไม่หยุดให้นี่ล่ะสิ แบบนี้จะเรียกว่าอาชีพที่ไม่น่าทำดีหรือเปล่านะ  - ฮา ล้อเล่นนะคะ ทุกอาชีพที่สุจริตต่างก็มีข้อดีของมัน อยู่ที่ว่าเราจะเห็นมันหรือเปล่าแค่นั้นเอง และหัวข้อนี้ก็จะกล่าวถึงอาชีพที่ไม่น่าทำ ตอนที่ 2 ค่ะ

อาชีพที่ว่านี้อาจจะเป็นอาชีพที่หลายๆคนคาดไม่ถึง และก็เป็นอาชีพในฝันหลายๆคนด้วยค่ะ อาชีพที่ว่านี้ก็คือ . . .



กัปตัน นักบิน สจ๊วต แอร์โฮเตส (Aircraft Pilot and Flight Engineer)



คงต้องยอมรับว่าหลายๆคนมีความฝันสูงสุดในชีวิตที่อยากจะเป็นนักบิน แต่คงมีไม่กี่คนที่เข้าใจถึงลักษณะอันแท้จริงของการปฏิบัติงานในอาชีพนี้ ดังนั้น ก่อนที่จะมาดูด้านมืดของอาชีพนี้ เรามาทำความรู้จักกับอาชีพนี้กันก่อนดีกว่าค่ะ




นิยามของอาชีพ "นักบิน"
ในระหว่างที่เครื่องบินกำลังลอยอยู่บนฟ้า ไม่ว่าจะเป็นระหว่างขนส่งผู้โดยสาร, สินค้า, ไปรษณียภัณฑ์ หรือในระหว่างการบิน แม้แต่การขับเครื่องบินเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น ดูแลเครื่องบินระหว่างทำการบิน ให้คำแนะนำนักบินเรื่องเส้นทางการบินและการบิน, สอนนักเรียนฝึกหัดเรื่องเส้นทางการบินหรือการบิน, ถ่ายภาพทางอากาศ, สำรวจทางอากาศ, ส่งมอบ-ฉีดยาฆ่า/ป้องกันแมลง ก็จะมีผู้ปฏิบัติหน้าที่นี้ ได้แก่ ผู้ควบคุมการบิน หรือผู้ขับเครื่องบิน




คุณสมบัติของผู้ทำงานนี้
คุณสมบัติ คงจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับอาชีพนี้ เนื่องจากนักบินจะต้องรับผิดชอบทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสาร คุณสมบัติมีดังนี้
1. จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี
2. มีความรู้ความชำนาญในวิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ในการศึกษาและปฏิบัติงาน
3. มีมนุษยสัมพันธ์และปฏิญานไหวพริบที่ดี เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตาม สำนึกในความปลอดภัย มีบุคลิกและรูปร่างที่ดี (สูงไม่น้อยกว่า 165 cm)
4. สามารถในการแก้ปัญหาและตัดสินใจเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว กล้าหาญ รับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
5. รอบคอบ ละเอียด ความจำดี ช่างสังเกต
6. ไม่มีความผิดปกติทางสายตา (สายตาสั้น, ตาบอดสี)
7. ผู้สมัครควรมีความรู้ในเรื่องของภาษาอังกฤษและในเรื่องของคอมพิวเตอร์ เนื่องจากในการสอบสัมภาษณ์จะมีทั้งการทดสอบในรูปแบบภาษาไทยและการทดสอบในรูปแบบเชาว์ปัญญา (Aptitude Test) และอาจมีการทดสอบในรูปแบบภาษาอังกฤษโดยผู้เชี่ยวชาญภาษาจากต่างประเทศ
8. ในการขับเครื่องบิน ต้องผ่านการตรวจร่างกายและทดสอบจิตเวชจากสถาบันเวชศาสตร์การบิน รวมทั้งต้องได้รับใบอนุญาตทางการบิน (Pilot License) ด้วย

นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ผู้สมัครยังต้องเตรียมตัวเพื่อเข้าเรียน @#$%^&* . . . พอแค่นี้ก่อนแล้วกันนะคะ เดี๋ยวจะออกนอกเรื่องไปเสียก่อน มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า

ไม่ต้องตื่นตระหนกไปนะคะสำหรับคนที่คิดจะประกอบอาชีพนี้ เพราะอุบัติเหตุจากอาชีพนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก เพราะยิ่งความเสี่ยงสูงเท่าไร ก็ยิ่งมีการป้องกันและเคร่งครัดเรื่องความปลอดภัยมากเท่านั้นนั่นเอง ตรงกันข้ามกับอาชีพบางอาชีพที่หละหลวมเพราะเห็นว่าไม่น่าจะมีอันตรายมาก

จากสถิติผู้เสียชีวิตในหน้าที่ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 72.4 คน ต่อคนงาน 1 แสนคนเท่านั้นค่ะ




จุดสังเกต
มีเที่ยวบินหนึ่งที่ถูกขนานนามว่าเที่ยวบินที่ปลอดภัยที่สุดในโลก นั่นก็คือ British Airway เพราะนับตั้งแต่ ค.ศ. 1976 ไม่เคยมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับสายการบินนี้เลยแม้แต่ครั้งเดียว

ระดับความอันตราย



เริ่มเบื่ออันตรายระดับ 6 ดาวหรือยังคะ เดี๋ยวรอบหน้ามีเสียวกว่านี้แน่นอน . . .

อ่านตอนเก่าๆได้ที่นี่นะ

อาชีพเสี่ยงอันตรายที่ไม่มีใครอยากทำ ตอนที่ 1




หมวดหมู่งาน: , , ,

1 ความคิดเห็น:

  1. ว้าว น่าสนใจมากครับ

    ฝาก Blog ผมบ้างนะ อิอิ

    http://pafrank.blogspot.com/

    ตอบลบ

Jobforyouatall © 2013 | Powered by Blogger | Blogger Template by DesignCart.org