วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556


เพื่อไม่ให้น่าเบื่อเกินไป เราจะไม่ลงเรื่องละหลายๆตอนนะคะ คอยติดตามเอาน่าสนุกกว่าเยอะเนอะ  หัวข้อที่แล้วที่เราพูดถึง Aircraft Pilot and Flight Engineer ได้รับการตอบรับที่ดีพอสมควรเลย แสดงว่าอาชีพนักบินนี่สะกิดต่อมความฝันของใครหลายๆคนเลยสินะคะ (จริงๆน่าจะกดเข้าไปดูเพราะ Thumbnail มากกว่า - ฮา) พูดถึงอาชีพเสี่ยงบนฟ้าไปแล้ว เรามาดูอาชีพเสี่ยงกลางทะเลบ้างดีกว่าค่ะ รอบนี้อันตรายระดับ 10 ดาวเลยนะคะ แล้วเราก็มั่นใจว่ามันเป็นอาชีพที่หลายๆคนคาดไม่ถึงแน่นอน นั่นก็คือ . . .


นักล่าปูอลาสก้า (Deadliest Catch)




เคยรับประทานปูอลาสก้าไหมคะ? เชื่อว่าหลายๆคนคงยังไม่เคย เพราะราคาของปูอลาสก้าคิดเป็นกิโลกรัมแล้วสูงมากถึงประมาณ 3,000 บาทเลยทีเดียว ทำไมถึงแพงขนาดนั้นล่ะ? ก็เพราะกรรมวิธีการจับน่ะสิคะ กว่าจะได้มานี่ คนจับต้องอุทิศตนให้งานถึงขนาดยอมถวายชีวิตเลยทีเดียว ถ้าได้มีโอกาสไปกินปูอลาสก้ากันก็อย่ากินเหลือกินทิ้งกินขว้างกันนะคะ เพราะปูตัวนั้น กว่าจะได้มาอาจจะต้องแลกกับชีวิตของชาวประมงหลายๆคนเลยก็ได้




Deadliest Catch หรือ Alaska Crab Fisherman แปลเป็นภาษาไทยตรงๆตัวว่า นักล่าปูอลาสก้า คาดไม่ถึงล่ะสิ แค่จับปู มันจะไปเสี่ยงตายตรงไหน ถ้าคิดแบบนั้นมาดูข้อมูลตรงนี้ก่อนดีกว่าค่ะ อาชีพนี้มีธรรมชาติอยู่ 2 อย่างคือ

1. รายได้สูงมาก ผู้ประกอบอาชีพนี้จะได้รับเงินหลังจากทำงานครั้งละประมาณ 5 แสนบาท!

2. ใช้เวลาเตรียมตัวเดินทางประมาณ 2 เดือน ในขณะที่ใช้เวลาปฏิบัติงานเพียงครั้งละประมาณ 5 วัน!

ถึงจะยังไม่ทราบเหตุผล แต่ก็พอจะเดาได้แล้วใช่ไหมคะ ว่าใช้ระยะเวลาปฏิบัติงานสั้นๆแต่กลับมีรายได้สูงขนาดนี้ มันต้องมีข้อแลกเปลี่ยนไม่ใช่น้อยเลย





รู้จักทะเลอลาสก้าไหมคะ?
ทะเลอลาสก้ามีลักษณะเด่นดังนี้ค่ะ
1. มีคลื่นลมแรง สูง 7-10 เมตร ตลอดเวลา ทำให้เรือที่ออกทะเลไปนั้นโครงเครงอยู่ตลอดเวลาไปด้วย
2. อุณหภูมิที่นั่นประมาณ 0 องศา เรียกได้ว่าน้ำที่ถูกซัดขึ้นมาบนเรือสามารถกลายเป็นน้ำแข็งได้ในพริบตา 


ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการจับปูอลาสก้าเป็นเรื่องปกติจากการตกลงไปในน้ำเย็นจัด ทำให้เสียความร้อนอย่างฉับพลัน จึงไม่น่าแปลกใจ ถ้าคุณไปนั่งเรือชมวิวในทะเลอลาสก้า(ใครมันจะไปนั่งเรือเล่นแถวนั้นฟะ!?)แล้วจะเห็นชาวประมงช่วยเหลือกันจับปู แม้จะไม่ได้มีผลประโยชน์ร่วมกัน ลองจินตนาการว่าถ้าตัวเองตกลงไปในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆ คงจะต้องการความช่วยเหลือเช่นเดียวกัน

และถึงแม้จะจับปูกลับเข้าฝั่งแล้ว ก็ยังต้องมีการดูมาตรฐานปูอีก อย่างเช่นปูมีขนาดตรงตามที่มาตรฐานกำหนดไหม แหม . . . ถ้าไม่แน่จริงทำไม่ได้นะเนี่ย

ระดับความอันตราย



  จะโหดไปไหนเนี่ย!?

หากชอบบทความนี้ กรุณารออ่านบทความต่อไป หรือถ้าจะให้ดีก็ช่วยกด Share ด้วยนะคะ ปุ่มอยู่ข้างล่างเนี่ย 

อ่านตอนเก่าๆได้ที่นี่นะ

อาชีพเสี่ยงอันตรายที่ไม่มีใครอยากทำ ตอนที่ 1
อาชีพเสี่ยงอันตรายที่ไม่มีใครอยากทำ ตอนที่ 2




                                                      

หมวดหมู่งาน: , , ,

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Jobforyouatall © 2013 | Powered by Blogger | Blogger Template by DesignCart.org